จระเข้น้ำเค็ม
หรือ ไอ้เคี่ยม หรือ จระเข้ทองหลาง[2](อังกฤษ: Saltwater crocodile, ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus porosus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ชนิดหนึ่ง
ในวงศ์ Crocodylidae
เป็นจระเข้
1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 2 ชนิด คือ จระเข้น้ำจืดและตะโขง)
มีลักษณะทั่วไปคล้ายจระเข้น้ำจืด จุดที่แตกต่างกันคือ
ขาคู่หลังมีลักษณะแข็งแรงกว่าขาคู่หน้าและมีเพียง 4
นิ้วมีพังผืดระหว่างนิ้วตีนมากกว่าจระเข้น้ำจืด
จะงอยปากยาวและส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีฟันประมาณ 60 ซี่
ลักษณะแตกต่างจากจระเข้น้ำจืดคือไม่มีเกล็ด 4 เกล็ดที่ท้ายทอย
ปากยาวกว่าจระเข้น้ำจืดอย่างเห็นได้ชัด มีสันเล็ก ๆ
ยื่นจากลูกตาไปตามความยาวของส่วนหัวจนถึงตำแหน่งของปุ่มจมูก
หรือที่เรียกว่าก้อนขี้หมา สีลำตัวออกเหลืองอ่อนหรือสีขาว
และมีการเรียงตัวที่ส่วนหาง ดูคล้ายตาหมากรุก ตัวผู้มีความยาวหางยาวกว่าตัวเมีย
แต่ลำตัวของตัวผู้ผอมเพรียวกว่าแต่โดยรวมแล้วขนาดลำตัวของตัวเมียจะเล็กกว่าเมื่อเทียบกันตัวต่อตัว
และระยะห่างของโหนกหลังตาจะกว้างกว่าหัวของตัวผู้ดูป้อมสั้น
ตัวเมียจะดูหัวจยาวเรียว
จระเข้น้ำเค็มจัดว่าเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โตเต็มที่ได้ถึง 4-5 เมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ
บริเวณนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
มักอาศัยอยู่ในป่าโกงกางหรือป่าชายเลนในที่ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม
ตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี ตัวเมียอายุ 10 ปี แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุ
12 ปี มีขนาดยาว 2.2 เมตร มีการผสมพันธุ์ในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูฝน ครั้งละ 25-90
ฟอง การวางไข่จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 80 วัน
ขนาดของไข่จระเข้น้ำเค็มจะใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืดเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 110-120 กรัม
จระเข้น้ำเค็มมีอุปนิสัยดุร้ายมาก
สามารถโจมตีสัตว์ที่โดยปกติไม่ใช่อาหารได้ เช่น มนุษย์ เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางถิ่นของออสเตรเลียที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในเรื่องการโจมตีมนุษย์ของจระเข้น้ำเค็ม
อีกทั้งมีการกัดของกรามได้อย่างรุนแรงมากที่สุดในโลก โดยมีแรงมากถึง 1,700
ปอนด์[3] และสามารถกระโดดงับเหยื่อได้
ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสัตว์เลื้อยคลายขนาดใหญ่เช่นนี้
จนกระทั่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Man Eater" ซึ่งในสวนสัตว์บางแห่งได้ใช้ความสามารถพิเศษอันนี้หลอกล่อให้จระเข้กระโดดงับเหยื่อที่แขวนล่อไว้เพื่อแสดงแก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม
ในทางอุตสาหกรรม
หนังของจระเข้น้ำเค็มมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องหนังมากกว่าจระเข้น้ำจืด
เพราะมีหนังที่เหนียวทนทานกว่า จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
แต่ทว่าด้วยความที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการจระเข้จะโตและให้ผลผลิตที่ดีได้
จึงนิยมผสมข้ามสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นเพื่อให้ได้จระเข้ลูกผสมที่จะให้ผลผลิตที่เร็วกว่า
ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[แก้]
คืนวันที่
3 กันยายน ค.ศ. 2011 ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์
ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญหลายคนรวมกันจับจระเข้น้ำเค็มเพศผู้ตัวหนึ่งได้
โดยใช้เวลากว่า 3 สัปดาห์ หลังจากจระเข้ตัวนี้กินควายไปเมื่อเดือนก่อน
และเชื่อว่ามันกินคนไปสองศพไปเมื่อสองปีก่อนด้วยการกัดเข้าที่ศีรษะจนขาด
ซึ่งจระเข้ตัวนี้มีน้ำหนักกว่า
1,075 กิโลกรัม และยาวถึง 6.4 เมตร
อายุกว่า 50 ปี นับเป็นจระเข้ตัวใหญ่ที่สุดเพียงไม่กี่ตัวที่จับได้ในรอบหลายปีที่ฟิลิปปินส์
และเชื่อว่าเป็นจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่พบมา
โดยทำลายสถิติจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่บันทึกได้ที่ออสเตรเลีย
ซึ่งตัวนั้นยาว 5.48 เมตร


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น